Influencing & Inspiring

HR ควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดแพชชั่นในการทำงาน

แพชชั่นคือ สิ่งสำคัญที่องค์กรไม่ควรมองข้าม เพราะความรัก ความตั้งใจ และความทุ่มเทของพนักงานที่มีต่อหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ จะนำเสนอผลงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

January 13, 2025
·
0
mins
Ketsara Numtummawong
เกสรา นำธรรมวงศ์
HR ควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดแพชชั่นในการทำงาน

HR ควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดแพชชั่นในการทำงาน

แพชชั่นคือ สิ่งสำคัญที่องค์กรไม่ควรมองข้าม เพราะความรัก ความตั้งใจ และความทุ่มเทของพนักงานที่มีต่อหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ จะนำเสนอผลงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

แพชชั่นคืออะไร?

แพชชั่นคือ ความลุ่มหลง ความชื่นชอบ ความหลงใหล ความกระตือรือร้นอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยว งานศิลปะ ดนตรี หนังสือ รวมไปถึงอาชีพหรืองานประจำที่กำลังทำ โดยส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับความรู้สึก เพราะทำให้รู้สึกถึงแรงสนับสนุน แรงผลักดัน และแรงบันดาลใจ ส่งผลให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำสิ่งที่สนใจอย่างเต็มที่และได้ผลตอบรับที่ดี ซึ่งแพชชั่นของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบส่วนตัว

แพชชั่นในการทำงานคืออะไร?

ในบริบทของการทำงาน แพชชั่นคือ ความรัก ความสนใจ และความชื่นชอบ ที่มีต่อลักษณะของงานหรือหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกกระตือรือร้น มีแรงผลักดัน และตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมทุ่มเทเวลาและความพยายามในการทำงานให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ โดยไม่รู้สึกเหนื่อยหน่ายหรือเบื่อหน่าย เพราะหากพนักงาน หมดแพชชั่น ในการทำงาน ก็จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานโดยตรง

ลักษณะของคนที่มีแพชชั่นในการทำงาน

แพชชั่นคือ ส่วนช่วยในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร ส่งผลให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันภายในองค์กร เสริมสร้างการทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมความมุ่งมั่นและกำลังใจในการมุ่งหน้าสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

ลักษณะของคนที่มีแพชชั่นในการทำงาน มีดังนี้

1. มีความกระตือรือร้น

แพชชั่นคือ แรงผลักดันในการทำงาน พนักงานที่มีแพชชั่นในการทำงานจะรู้สึกตื่นเต้นกับงานที่ตนเองทำและกระตือรือร้นในการรับความท้าทายจากความยากหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย เต็มใจที่จะทุ่มเทเวลาและความพยายามให้กับงานที่ตนเองรับผิดชอบ

2. รักในงานที่ทำ

คนที่มี แพชชั่นในการทำงาน ไม่หวังเพียงเรื่องเงินหรือค่าตอบแทน แต่จะรัก ภาคภูมิใจ และใส่ใจรายละเอียดในผลงานที่ตนเองทำ มักรู้สึกสนุกสนานกับสิ่งใหม่ ๆ ที่พบเจออยู่เสมอ แม้พบเจออุปสรรคก็ยังคงพยายามและมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำงานให้สำเร็จ เพราะรู้สึกว่าการทำงานนั้นมีความหมายและสอดคล้องกับเป้าหมายส่วนตัวของตนเอง

3. มีเป้าหมายที่ชัดเจน

การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีวิสัยทัศน์ต่อสิ่งที่ตนเองต้องการบรรลุ เป็นหนึ่งในลักษณะของคนที่มีแพชชั่นในการทำงาน เพราะช่วยกำหนดทิศทางในการวางแผนงานอย่างชัดเจน ลดความสับสน และสามารถลงมือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. พร้อมเรียนรู้และพัฒนา

แพชชั่นคือ ความกระตือรือร้นในการทำงาน ดังนั้น คนที่มีแพชชั่นจะมีความอยากเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา คอยทดลองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการทำงาน ไม่กลัวที่จะผิดพลาด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างคือการเรียนรู้

5. สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น

คนที่มีแพชชั่นในการทำงานมักส่งพลังงานบวกให้กับคนอื่นอยู่เสมอ ส่งผลให้เพื่อนร่วมทีม เพื่อนร่วมงาน หรือคนที่อยู่รอบข้างได้รับแรงบันดาลใจในการทำงานและมีกำลังใจในการพัฒนาตนเอง เพราะคนเหล่านี้สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับทุกคนได้

หมดแพชชั่น ในการทำงาน อันตรายไหม? ส่งผลกระทบต่อใคร?

การ หมดแพชชั่น ในการทำงาน คือ ภาวะที่หมดความชื่นชอบ ความสนใจ ความหลงใหล และความตื่นเต้น รู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งที่กำลังทำ หมดแรงในการทำสิ่งที่เคยชื่นชอบหรือเคยทำแล้วมีความสุข เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หมดไฟ” เช่น หมดไฟในการเรียน หมดไฟในการทำงาน หมดไฟในการอ่านหนังสือ หรือแม้แต่หมดไฟในการใช้ชีวิตก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า แพชชั่นคือ ความสนใจ ความหลงใหล ความชื่นชอบ เมื่อเกิดอาการ “หมดแพชชั่น” ก็ดูเหมือนจะเป็นภัยเงียบที่ค่อย ๆ สะสมในจิตใจของเราทุกวัน ๆ จนเมื่อรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) และอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในอนาคต

ผลกระทบต่อพนักงาน

1. ความเครียด

พนักงานที่ หมดแพชชั่น ในการทำงาน จะรู้สึกเครียด กดดัน และไม่มีความสุขกับงานที่ตนเองรับผิดชอบ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้

2. ขาดแรงจูงใจ

แพชชั่นคือ แรงบันดาลใจให้ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เมื่อพนักงานหมดแพชชั่นก็จะทำให้ขาดแรงจูงใจ ขาดความหลงใหล ความตั้งใจ ที่จะทำงานให้ออกมาดีที่สุด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

3. ขาดการพัฒนา

เมื่อพนักงาน หมดแพชชั่น ในการทำงาน ก็จะทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ขาดการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และไม่มีการเติบโต

ผลกระทบต่อองค์กร

1. ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

แพชชั่นคือ ความกระตือรือร้น หากพนักงานหมดแพชชั่นก็เท่ากับหมดความกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ส่งผลให้คุณภาพของผลงานลดลง

2. ความผูกพันต่อองค์กรลดลง

หาก แพชชั่นคือ ความรัก พนักงานที่หมดแพชชั่นก็มักสูญเสียความรักความผูกพันที่มีต่อองค์กร เริ่มมองหางานหรือองค์กรใหม่ที่น่าสนใจ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของพนักงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องของการทำงาน

3. บรรยากาศในการทำงานไม่เป็นมิตร

พนักงานที่หมดแพชชั่นอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศของการทำงานเป็นทีมได้ เพราะมักขาดความกระตือรือร้น ความตั้งใจ และไม่อยากมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของทีม ทำให้สมาชิกคนอื่นภายในทีมรู้สึกไม่เท่าเทียม เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ส่งผลให้บรรยากาศการทำงานภายในทีมเกิดความตึงเครียดได้

5 วิธีปลุกแพชชั่นในตัวคุณ

1. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย

“มนุษย์มีทางเลือกเสมอ” แทนที่จะต้องจมอยู่กับชีวิตที่ไม่มีความสุข เราสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงและลงมือทำอะไรใหม่ ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นได้เสมอ เริ่มจากการ “ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย” ช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจและจิตใจที่อยากฮึดสู้อีกครั้ง โดยการแบ่งเป็น “เป้าหมายใหญ่” และ “เป้าหมายย่อย” เพื่อให้เห็นความคืบหน้าและระยะทางที่ค่อย ๆ ก้าวเข้าสู่ความสำเร็จ

2. พัฒนาทักษะใหม่ ๆ

แพชชั่นคือ ความหลงใหลในสิ่งที่ตนเองสนใจ ดังนั้น การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่ตนเองสนใจหรือยังไม่ถนัด จะสร้างความท้าทายให้รู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้มากขึ้น

3. มองหาความหมายของสิ่งที่ทำ

การมองหาความหมายของงานหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่ งานนั้นอาจช่วยพัฒนาผู้คน สร้างแรงบันดาลใจ หรือมีส่วนช่วยให้องค์เติบโต เมื่อลองทบทวนดูอีกที อาจทำให้มองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ละเลยไปและรู้สึกถึงความรัก ความภาคภูมิใจในตนเองและผลงาน

4. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

ความรู้สึก หมดแพชชั่น ในการทำงาน สัมพันธ์กับการนอนหลับพักผ่อน หากพักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนดึกเกินไป จะส่งกระทบต่อร่างกายและอารมณ์ ทำให้อยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะกับการใช้ชีวิตได้

5. สร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว

แพชชั่นคือ ความสุขในการทำงาน แต่อย่าลืมให้ความสำคัญกับ “Work Life Balance” ซึ่งเป็นเทรนด์การทำงานของพนักงานรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว ไม่ว่าจะชื่นชอบการทำงานมากแค่ไหน ก็ควรหาเวลาพักผ่อนให้กับชีวิตส่วนตัว เช่น การออกไปท่องเที่ยว การออกกำลังกาย หรือการทำสิ่งอื่น ๆ ที่ตนเองชอบ ช่วยให้สมองได้รับการผ่อนคลายหลังจากการทำงานหนัก

HR ควรทำอย่างไร? เมื่อพนักงาน หมดแพชชั่น ในการทำงาน

แพชชั่นคือ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุขแลช่วยสร้างบรรยากาศดี ๆ ให้กับการทำงาน เมื่อพนักงานเกิดอาการ “หมดแพชชั่น” HR จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ ดูแล กระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นและไม่สูญเสียประสิทธิภาพของผลงาน

1. ตรวจสอบหาสาเหตุ

HR ควรเริ่มต้นจากการตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหา ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้พนักงานหมดแพชชั่น อาจใช้วิธีการพูดคุยแบบเปิดใจ (One-on-One) สร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้พนักงานสามารถพูดในสิ่งที่ต้องการได้อย่างสะดวกใจมากขึ้น เช่น ภาระงานมากเกินไป ขาดโอกาสในการเติบโต เพื่อนร่วมงานมีปัญหา หรือต้องการความท้าทายในชีวิต

2. ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้น

แพชชั่นคือ ความสุขในการทำงาน ดังนั้น บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานจะช่วยกระตุ้นให้พนักงานกลับมามีแพชชั่นในการทำงาน เพราะบรรยากาศที่ตึงเครียดไม่เอื้ออำนวยต่อความคิดสร้างสรรค์และทำให้พนักงานหมดกำลังใจในการทำงาน HR จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมให้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมเป็นมิตรต่อการทำงาน โดยการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดี

3. ให้การสนับสนุนในการพัฒนาตนเอง

พนักงานบางคนอาจรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถเติบโตในองค์กรหรือไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ HR ควรส่งเสริมให้พนักงานได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง และทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและสามารถเติบโตในองค์กรต่อไปได้

4. สร้างคำชื่นชม

การให้การยอมรับและชื่นชมความสำเร็จของพนักงาน สามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานที่ทำ HR ควรระบบรางวัลหรือการชื่นชม เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ

5. รับฟังความต้องการของพนักงาน

การรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกว่าความคิดเห็นและความต้องการถูกรับฟังและได้รับความใส่ใจจากองค์กรอย่างแท้ สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรต่อการทำงาน ส่งผลให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และมีความสุข ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

บทความที่ BASE Playhouse นำมาฝากในวันนี้ เป็นสิ่งที่ HR หรือองค์กรสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการทำงานของแต่ละองค์กรได้ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและส่งเสริมให้พนักงานสร้างสรรค์ผลงานทุกชิ้นออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิงจาก

หมดแพชชั่น ไปต่ออย่างไรดี เคล็ดลับฮีลใจจากการหมดแพชชั่น, BeDee

องค์กรควรทำอย่างไร เมื่อพนักงานหมด Passion ในการทำงาน, HREX Asia