Organizational Ready For Change

Adaptability is key. เรียนรู้สกิลการปรับตัวที่ควรมีไว้ในยุคดิจิทัล

Adaptability Skills คือ ทักษะหรือความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง หรือความผันผวน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ในโลกที่เคลื่อนไหวแบบ “fast-paced”

September 9, 2024
·
0
mins
Maytwin Pitipornvivat (Mum+)
เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์
Adaptability is key. เรียนรู้สกิลการปรับตัวที่ควรมีไว้ในยุคดิจิทัล

Adaptability is key. เรียนรู้สกิลการปรับตัวที่ควรมีไว้ในยุคดิจิทัล

สกิลการปรับตัว หรือ Adaptability Skills คืออะไร

Adaptability Skills คือ ทักษะหรือความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง หรือความผันผวน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ในโลกที่เคลื่อนไหวแบบ “fast-paced”

สกิลการปรับตัวถือเป็นอาวุธสำคัญในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และพฤติกรรมของคนทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน อย่าง เทรนด์การทำงานแบบ Flexible working hours หรือ การทำงาน Hybrid/Remote ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ BASE Playhouse จึงอยากยกตัวอย่าง 3 เทรนด์การทำงานในอีก 5-10 ปีข้างหน้า มาให้ดูกัน

การทำงานแบบเป็น ‘Gig’ จะมากขึ้นเรื่อย ๆ

เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว กับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจ Work-Life Balance มากขึ้น ทำให้รูปแบบของการจ้างงานและการทำงานเกิดการเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการคาดการณ์ได้ว่า การทำงานแบบ Gig (หรือ การรับทำงานแบบจบที่ละงาน) แบบฟรีแลนซ์ หรือแบบพาร์ทไทม์ จะได้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจากผู้จ้างงานและผู้รับงาน โดยเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานประจำแล้ว การจ้างฟรีแลนซ์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านสวัสดิการได้มากกว่า ในขณะเดียวกัน การทำงานแบบฟรีแลนซ์ก็ย่อมให้ความยืดหยุ่นในการทำงานที่มากกว่า

องค์กรต้องเริ่มใส่ใจพนักงานมากขึ้น

Employee engagement หรือ ความผูกพันธ์ที่พนักงานมีต่อองค์กร ถือเป็น topic ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากหลังเกิดเหตุการณ์การทยอยลาออกของพนักงานจำนวนมาก (The Great Resignation)ในช่วงปี 2021 ในสหรัฐอเมริกาและอีกหลาย ๆ ประเทศ 

นอกจาก The Great Resignation แล้ว ยังมีเทรนด์ “Quiet Quitting” หรือการทำงานเท่าที่จำเป็นโดยปราศจากความกระตือรือร้น ที่เป็นกระแสของคนทำงานรุ่นใหม่อีกด้วย

เหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้หลายองค์กรต้องหันมาใส่ใจกับ Employee Engagement มากขึ้น เพราะความรู้สึกที่พนักงานมีต่อองค์กรนั้นมีส่งผลต่อ Productivity และ Performance ขององค์กร

AI จะเข้ามามีบทบาทในที่ทำงานมากขึ้น

ด้วยความสามารถในการ handle ข้อมูลปริมาณมาก และความสามารถในการเรียนรู้ที่รวดเร็ว เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า AI เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างจะมีประโยชน์โดยเฉพาะกับยุคที่ธุรกิจส่วนใหญ่วิ่งอยู่ในโลกดิจิทัล และเราสามารถคาดเดาได้ว่า ในอนาคต เราได้จะเห็นการใช้ AI เข้ามามีบทบาทในที่ทำงานมากอย่างแน่นอน

สกิลการปรับตัว หรือ Adaptability Skills มีอะไรบ้าง

ต้องเกริ่นกันก่อนว่า สกิลการปรับตัว ไม่ได้หมายถึง ทักษะเพียงหนึ่งเดียว แต่เรียกว่าเป็น กลุ่มทักษะที่จะช่วยเตรียมคุณให้พร้อมรับมือกับโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน BASE Playhouse จึงขอยกตัวอย่าง 4 สกิลการปรับตัว ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับคนที่อยู่ในตำแหน่งผู้นำ และสมาชิกของทีม

Learning agility ความคล่องตัวในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในธุรกิจใด ๆ การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญเสมอ Learning agility หรือความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและเอาองค์ความรู้ใหม่ไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อนี้จึงเป็นสกิลการปรับตัวอันแรกที่ทั้งผู้บริหารและคนในทีมควรฝึกเอาไว้โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย

Open-mindedness การเปิดใจให้กว้าง

การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ และเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาที่องค์กรของคุณไม่เคยเจอมาก่อนเลยก็ได้ การยึดถือหลักการเดิมจึงอาจจะไม่ใช่วิธีมีประสิทธิภาพที่สุดในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น การเปิดใจกว้างเพื่อรับไอเดียและมุมมองใหม่ ๆ จึงเป็นสกิลการปรับตัวที่จะทำให้ผู้นำสามารถโต้คลื่นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่น

Flexibility ความยืดหยุ่นในการปรับตัว

อีกหนึ่งทักษะการปรับตัวที่เราจะให้ความสำคัญก็คือ ความยืดหยุ่นในการปรับตัว เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น มีการเลื่อน deadline ซึ่งทำให้คุณจำเป็นต้อง deliver ผลงานได้เร็วขึ้น คุณก็ต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะเปลี่ยน process หรือ approach ในการทำงานโดยที่ไม่ลดคุณภาพของงาน

Resilience ความสามารถในลุกขึ้นยืน เมื่อถูกชนด้วยปัญหา

เป็นเรื่องปกติของการทำงานที่ เราจะต้องเจอกับ setbacks หรือปัญหาที่ทำให้การทำงานชะงัก Resilience จึงเป็นสกิลการปรับตัวที่จะช่วยให้คุณรับมือกับ setbacks และแก้ไขมันได้อย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกกันว่า “ล้มแล้วลุกได้เร็ว” นั้นเอง

Adaptability in action: Netflix กับการเพิ่มเกมเข้าไปในสตรีมมิ่ง

เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของสกิลการปรับตัวอย่างชัดเจนมากขึ้น BASE Playhouse ขอยกตัวอย่างการปรับตัวของ Netflix เจ้าของตลาดวงการสตรีมมิ่งหนังและซีรีส์ ที่มียอดผู้ใช้งานมากเกือบ 270 ล้านคนทั่วโลก กับ Business move ที่ทำเอาหลายคนประหลาดใจ

Netflix เพิ่ม เกมส์ เข้าไปในแพลตฟอร์ม

ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าตลาดสตรีมมิ่งกำลังเข้าสู่จุดอิ่มตัว (Saturated market) และ Netflix ต้องเจอกับคู่แข่งอย่าง Disney+, HBO Max, Hulu, และ Amazon Prime Video ที่มาพร้อม Original shows และ Exclusive shows ของตัวเอง เช่น Games of thrones ซึ่งเป็น HBO original series หรือ The Boys ที่ดูได้เฉพาะใน Prime Video เท่านั้น เมื่อคู่แข่งมากมายพากันเข้ามาดึงตลาด Netflix จึงได้ตัดสินใจเพิ่ม เกม เข้าไปในแพลตฟอร์มของตัวเองในปี 2021 ซึ่งเป็น move ที่ทำให้หลายคนต้องเกาหัว

ตั้งแต่เกมจับคู่ไปจนถึงเกมแข่งรถ และเกมที่ถูกสร้างจากซีรีส์ดังอย่าง Stranger Things และ The Queen’s Gambit เพียงแค่คุณมีบัญชีของ Netflix คุณก็สามารถดาวน์โหลดเกมเหล่านี้ได้ผ่านแอป Netflix โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และไม่มีโฆษณาขั้น 

นอกจากนี้ยังมีการปล่อยเกมเก๋า อย่าง Grand Theft Auto Trilogy (GTAIII) ที่มัดรวม GTA ยอดฮิต 3 ภาคเอาไว้ด้วยกัน โดยผู้ใช้ Netflix สามารถโหลดลงมาเล่นบนมือถือหรือแท็บเล็ตได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งถือเป็นการปล่อยเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และมีผู้ดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 18 ล้านคน เมื่อต้นปี 2024 (อ้างอิงข้อมูลจาก Mobilegamer.biz)

วิเคราะห์สกิลการปรับตัวของ Netflix

การเพิ่มเกมเป็นการสร้าง brand royalty ที่ฉลาด และทำให้ brand ของตัวเองกลายเป็นแหล่งความบันเทิงที่ให้มากกว่าหนังและซีรีส์ ซึ่ง move นี้ดูเหมือนจะเป็นการทดลองที่ยังไม่เผยผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่เราสามารถเรียนรู้และวิเคราะห์สกิลการปรับตัวของ Netflix ได้ดังนี้

  • Continuous Learning: Netflix ไม่หยุดที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค: ความต้องการของ Mobile Entertainment ที่มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคอายุน้อยถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเพิ่มเกมเข้ามาในแพลตฟอร์ม
  • Openness to New Ideas: move ของ Netflix แสดงถึงความเปิดกว้างในที่จะรับไอเดียและทดลองแนวทางเข้าถึงตลาดที่แตกต่างจากวิถีของคู่แข่ง
  • Flexibility: การเพิ่มเกมของ Netflix ยังแสดงถึงความยืดหยุ่นในการปรับตัวจากแพลตฟอร์มสรีมมิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว ให้เป็นแพลตฟอร์มความบันเทิงที่เข้ากับแนวโน้มความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น

ถึงแม้ยอดการดาวน์โหลด หรือความนิยมของ Netflix games จะเป็นแค่สัดส่วนเล็ก ๆ ของธุรกิจทั้งหมด แต่ดูเหมือน Netflix ยังจะมุ่งมั่นพัฒนา service ด้านนี้ต่อไป โดยมีการพัฒนาเกมใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าผลลัพธ์ในระยะยาวจะไปในทิศทางไหน เราก็สามารถยอมรับได้ว่า สกิลการปรับตัวนั้นเป็นสิ่งที่จะเป็นต่อการเผชิญกับตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจริง ๆ

สกิลการปรับตัว สามารถฝึกได้อย่างไร

ทักษะการปรับตัวในองค์กรนั้นมีประโยชน์ทั้งในระดับผู้นำและสมาชิกทีม ในย่อหน้าที่ BASE Playhouse อยากยกตัวอย่าง 5 วิธีง่าย ๆ ในการฝึกสกิลการปรับตัวที่คุณสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้

1. มองอุปสรรค หรือ ปัญหา ให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้

มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะท้อใจ หรือหงุดหงิด เมื่อต้องเจอกับปัญหาระหว่างการทำงาน แต่ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เรามีสกิลการทำงานและสกิลการปรับตัวที่เก่งขึ้น หนึ่งในวิธีการเรียนรู้จากอุปสรรคที่ดีที่สุดคือ ทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากแก้ปัญหาได้แล้ว ว่าเราได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง มีสกิลไหนที่เราสามารถนำไปใช้ใน task อื่นได้หรือไม่ และเราจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเดิมได้อย่างไร

2.หมั่นขอฟีดแบ็กจากเพื่อนร่วมงาน

การขอฟีดแบ็กหรืออินพุตจากเพื่อนร่วมงานเป็นวิธีฝึกสกิล Open-mindedness ที่ดี วิธีนี้ทำให้คุณได้รับมุมมองที่แตกต่างและเป็นตัวช่วยให้คุณได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วย นอกจากนี้ การขอฟีดแบ็กยังช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับสมาชิกในทีม (หรือต่างทีม) ได้อีกด้วย

3.อย่ากลัวที่จะออกจาก Comfort zone ของตัวเอง

ความยืดหยุ่นเป็นหนึ่งในสกิลการปรับตัวที่ฝึกได้ยาก เพราะความยืดหยุ่นจะถูกฝึกได้ก็ต่อเมื่อเราได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ ที่อยู่นอก Comfort zone ของตัวเอง การออกจาก Comfort zone นอกจากจะช่วยให้เราได้เรียนรู้สกิลใหม่แล้ว ยังเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการต่อยอดและปรับใช้สกิลที่มีอยู่แล้วด้วย

4.ให้กำลังใจและ acknowledge ความก้าวหน้าของตัวเอง

การให้กำลังใจและให้ความสำคัญกับ Progress ของตัวเองเป็นวิธีที่ดีในการดูแลสุขภาพใจในที่ทำงาน ซึ่งจะเป็นรากฐานในการเพิ่ม Resilience ของคุณด้วย การให้กำลังใจตัวเองในทุกสเต็ป จะช่วยให้คุณสามารถลุกขึ้นจากความเครียดหรือความเหนื่อยล้าได้ โดยเฉพาะเวลาเจอกับอุปสรรค

อ้างอิงข้อมูล