HR Assessment

Culture Fit คืออะไร สำคัญกว่าความสามารถจริงหรือ?

Culture Fit คืออะไร? สำคัญกว่าความสามารถจริงหรือ? บอกวิธีสร้างทีมด้วยแนวคิดนี้ พร้อมแนะนำเครื่องมือที่ช่วย HR ประเมินผู้สมัครได้อย่างแม่นยำ

April 11, 2025
·
0
mins
Phanpaporn Limngern
พรรณปพร ลิ่มเงิน
Culture Fit คืออะไร สำคัญกว่าความสามารถจริงหรือ?

บทนำ: ทำไม Culture Fit ถึงสำคัญในโลกการทำงาน?

เคยสงสัยไหมว่าทำไมพนักงานบางคนที่ดูเก่งมากๆ ถึงไม่สามารถทำงานร่วมกับทีมได้ดี หรือทำไมบางคนที่ดูธรรมดาแต่กลับเข้ากับทีมได้อย่างลงตัว? คำตอบอาจอยู่ที่ "Culture Fit" หรือความเข้ากันได้ในเชิงวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ทีมทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า Culture Fit คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ และจะช่วยให้องค์กรสร้างทีมที่แข็งแกร่งและสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจได้อย่างไร พร้อมแนะนำเครื่องมือที่ช่วย HR ประเมิน Culture Fit ของผู้สมัครได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก

Culture Fit คืออะไร?

Culture Fit หมายถึงความเข้ากันได้ระหว่างบุคลิกภาพ ค่านิยม (Core Values) และวิธีการทำงานของพนักงาน กับวัฒนธรรมและเป้าหมายขององค์กร หากพนักงานมี Culture Fit ที่ดี พวกเขาจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างของ Culture Fit ในองค์กร

  • องค์กรสตาร์ทอัพ: หากผู้สมัครเป็นคนที่มี Fixed Mindset หรือเคร่งครัดกฎระเบียบ อาจไม่เหมาะกับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่นและการปรับตัวสูง เช่น สตาร์ทอัพที่เน้นนวัตกรรมและการทดลองสิ่งใหม่ๆ
  • บริษัทบัญชี: คนที่ทำงานไวแต่ขาดความละเอียดอาจไม่เหมาะกับบริษัทบัญชีที่ต้องการความแม่นยำสูง
  • องค์กรที่เน้น Collaboration: พนักงานที่ชอบทำงานคนเดียวหรือไม่เปิดรับความคิดเห็นจากผู้อื่น อาจไม่เหมาะกับองค์กรที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนไอเดีย
  • องค์กรที่มี Core Values ชัดเจน: เช่น Amazon ที่ใช้วัฒนธรรมองค์กร 14 ข้อเป็นแก่นหลักในการสัมภาษณ์และประเมินผู้สมัคร เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานใหม่จะสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ตั้งแต่เริ่มต้น

จากตัวอย่างเหล่านี้ จะเห็นว่า Culture Fit ไม่ใช่แค่เรื่อง "เข้ากันได้" แต่เป็นการหาคนที่เหมาะสมกับวิธีการทำงานและค่านิยมขององค์กรโดยเฉพาะ

Culture Fit สำคัญอย่างไรต่อองค์กร?

1. ลดอัตราการลาออก (Turnover Rate)

พนักงานที่มี Culture Fit จะรู้สึกว่าองค์กรเข้าใจและสนับสนุนพวกเขา ทำให้พนักงานมีความผูกพันและอยากอยู่กับองค์กรในระยะยาว จากข้อมูลของ Glassdoor พบว่า 77% ของพนักงานพิจารณาวัฒนธรรมองค์กรก่อนตัดสินใจสมัครงาน

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Workplace Productivity)

เมื่อพนักงานมีเป้าหมายและวิธีการทำงานที่สอดคล้องกัน ทีมงานจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ลดความขัดแย้ง และเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของทีม

3. สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี (Psychological Safety)

วัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมช่วยสร้าง Psychological Safety หรือความปลอดภัยทางจิตใจ ทำให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นและเสนอไอเดียใหม่ๆ โดยไม่กลัวว่าจะถูกตำหนิ

วิธีการวัด Culture Fit ให้มีประสิทธิภาพ

1. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Culture Fit Interview Questions)

คำถามสัมภาษณ์เชิงลึกช่วยให้ HR เข้าใจพฤติกรรมและทัศนคติของผู้สมัคร เช่น

  • "คุณชอบทำงานในบรรยากาศแบบไหน?"
  • "คุณจัดการกับความขัดแย้งในทีมยังไง?"

คำถามเหล่านี้ช่วยให้เห็นว่าผู้สมัครมีแนวคิดและวิธีการทำงานที่เข้ากับทีมได้หรือไม่

2. การทดลองทำงานร่วมกับทีม (Team Collaboration Test)

การให้ผู้สมัครทดลองทำโปรเจกต์เล็กๆ ร่วมกับทีมเป็นอีกวิธีหนึ่งในการดูว่าเขาสามารถปรับตัวและเข้ากับวัฒนธรรมของทีมได้หรือไม่

3. การใช้เครื่องมือประเมิน (Culture Fit Assessment Tools)

เครื่องมืออย่าง SEEN Assessment ช่วย HR ประเมินบุคลิกภาพและค่านิยมของผู้สมัครได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก โดย SEEN จะรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Core Value และ Competency ของผู้สมัคร เพื่อช่วยให้ HR สามารถเห็นคะแนนความเข้ากันได้กับองค์กรและตำแหน่งงานได้ทันทีหลังทำแบบทดสอบเสร็จ ทำให้สามารถคัดเลือกผู้สมัครที่ตรงเกณฑ์ได้ และเลือกคำถามสัมภาษณ์เพื่อ Follow up ได้อย่างเหมาะสม

SEEN: ตัวช่วยในการประเมิน Culture Fit อย่างแม่นยำ

หนึ่งในปัญหาที่ HR มักเจอคือการไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับผู้สมัครก่อนเข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์ SEEN: Candidate & Talent Assessment เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ

SEEN ช่วย HR และ Recruiter ได้อย่างไร?

SEEN สามารถสร้างชุดข้อสอบที่วัดผล Culture Fit ที่องค์กรต้องการได้ โดยองค์กรสามารถเลือกได้จากกว่า 50 Core Value ที่ SEEN สามารถทดสอบได้ หรือหากองค์กรไหน Core Value ไม่ชัดเจน SEEN มีทีมงานผู้เชี่ยวช่ญที่จะเข้าไปสำรวจองค์กรว่ามีพฤติกรรมที่ต้องการสร้างแบบใด เพื่อประเมินออกมาเป็นวัฒนธรรมองค์กรให้ และออกแบบชุดข้อสอบที่สามารถวัดบุคลิกภาพและค่านิยมของผู้สมัครได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ ข้อมูลจาก SEEN ยังช่วยให้ HR เลือกคำถามสัมภาษณ์ติดตามผลที่เจาะลึกและตรงประเด็นได้มากขึ้น ทั้งในด้านของ Competency ที่จำเป็นต่อตำแหน่งงาน และบุคลิกภาพการทำงาน เพื่อแยกคนที่ "เก่งจริง" ออกจากคนที่"พูดเก่ง" เช่น หาก SEEN ระบุว่าผู้สมัครมีจุดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ แต่ยังขาดทักษะด้านการสื่อสาร HR สามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อออกแบบคำถามสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ ทำให้สามารถคัดกรองผู้สมัครได้ลึกมากขึ้น

ด้วยระบบ SEEN HR จะมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้สมัครก่อนเริ่มสัมภาษณ์ ช่วยลดเวลาในการเตรียมตัวและเพิ่มโอกาสในการเลือกคนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กร สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEEN ได้ที่เว็บไซต์ BASE Playhouse

ความแตกต่างระหว่าง Culture Fit และ Culture Add

ในขณะที่ Culture Fit เน้นเรื่องความเข้ากันได้ Culture Add เป็นแนวคิดใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรผ่านความหลากหลาย เช่น การรับคนที่มีมุมมองใหม่ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรม

ข้อดี-ข้อเสียของการคัดเลือกผู้สมัครที่ Culture Add

  • เพิ่มมุมมองใหม่ๆ ให้กับทีม
  • สร้างโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • อาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวระหว่างพนักงานใหม่และทีมเดิม

ทั้งสองแนวคิดมีข้อดีแตกต่างกัน องค์กรควรเลือกใช้ตามเป้าหมายธุรกิจและลักษณะของทีม

เคล็ดลับสำหรับ HR ในการสร้างทีมด้วย Culture Fit

  1. สื่อสารวัฒนธรรมองค์กรชัดเจน: ใช้เว็บไซต์บริษัทหรือโพสต์รับสมัครงานเพื่อแสดงถึง Core Values และเป้าหมายขององค์กร
  2. ฝึกอบรม Hiring Manager: ให้เข้าใจวิธีสัมภาษณ์และวิเคราะห์ผู้สมัครในเชิงวัฒนธรรม
  3. ใช้เครื่องมือช่วยประเมิน: เช่น SEEN เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเลือกผู้สมัคร

บทสรุป: Culture Fit สำคัญกว่าความสามารถจริงหรือ?

Culture Fit เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสร้างทีมงานคุณภาพ แต่ก็ต้องสมดุลกับแนวคิด Culture Add เพื่อเพิ่มความหลากหลาย การใช้เครื่องมืออย่าง SEEN จะช่วยให้ HR มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้สมัคร ช่วยลดเวลาในการประเมิน และเพิ่มโอกาสในการเลือกคนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กร