Talent คืออะไร? พนักงานแบบไหนที่ “ใช่” สำหรับองค์กรคุณ
ในโลกของการทำงานที่มีอัตราการแข่งขันสูงเสียดฟ้า มิหนำซ้ำยังดุเดือดแปรผันตามเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน อัตราการลาออกของพนักงานก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีอาชีพที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย เป็นเส้นทางใหม่ ๆ สำหรับคนที่กำลังมองหาความท้าทายให้กับชีวิตการทำงาน

Talent คืออะไร? พนักงานแบบไหนที่ “ใช่” สำหรับองค์กรคุณ
ในโลกของการทำงานที่มีอัตราการแข่งขันสูงเสียดฟ้า มิหนำซ้ำยังดุเดือดแปรผันตามเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน อัตราการลาออกของพนักงานก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีอาชีพที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย เป็นเส้นทางใหม่ ๆ สำหรับคนที่กำลังมองหาความท้าทายให้กับชีวิตการทำงาน ด้วยเหตุผลนี้ การมี Talent ในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะคนที่มีทักษะความสามารถเพียบพร้อมในทุก ๆ ด้านจะนำพาองค์กรเติบโตอย่างมั่นคงและมุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ
แต่เดี๋ยวก่อน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนแบบไหนคือ Talent ในองค์กร? และถ้าหาเจอแล้ว วิธีรักษา Talent มีอะไรบ้าง? บทความในวันนี้ BASE Playhouse จะมาตอบคำถามที่ทุกคนสงสัยไปพร้อม ๆ กัน

Talent คืออะไร? ทำไมใคร ๆ ก็ตามหา
Talent คือ พนักงานที่มีศักยภาพเป็นเลิศในองค์กร ซึ่งไม่ได้หมายถึงพนักงานที่เก่งที่สุดเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงพนักงานที่มีคุณสมบัติพิเศษ ทักษะโดดเด่น ความสามารถรอบด้าน วิสัยทัศน์กว้างไกล พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
พนักงานที่มี Talent คือ ฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่จะช่วยยกระดับองค์กรให้โดดเด่นเหนือใครและผลักดันให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมรับมือกับทุกความท้าทาย กล้าตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าปัญหาจะใหญ่และยากเย็นแค่ไหนก็สามารถควบคุมได้ทุกสถานการณ์
ในส่วนของการแข่งขันด้านธุรกิจที่ร้อนแรงในตลาด เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พนักงานที่มี Talent ในองค์กรก็สามารถสร้างสรรค์ความคิด นวัตกรรม และโซลูชันใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว แถมยังเป็นไอเดียที่ล้ำสมัยเหนือจินตนาการ แต่สามารถนำมาพัฒนาการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการได้จริง เพราะมีทักษะด้านการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เต็มปรอท
นอกจากนี้ พนักงานที่มี Talent ในองค์กร มักจะมีศักยภาพในการเป็นผู้นำสูงมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นความกระตือรือร้นในการทำงานของสมาชิกภายในทีม รวมถึงช่วยนำพาองค์กรไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม

เปิดตำรา Talent 2025 คนแบบไหน “ใช่” สำหรับองค์กรคุณ
ในบทความนี้ BASE Playhouse จะพามาเปิดตำราฉบับอัปเดตล่าสุด 2025 ทำความรู้จักกับคุณสมบัติ 3 ข้อของคนที่มี Talent คือ เก่งงาน เก่งคน และพร้อมชน
1. เก่งงาน
คุณสมบัติข้อแรกของคนที่มี Talent คือ เก่งงาน ซึ่งหมายถึง คนที่มี “ความโดดเด่น” ในการทำงาน เริ่มตั้งแต่การเชี่ยวชาญในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทักษะความสามารถครบสมบูรณ์รอบด้าน ทำงานได้ด้วยตัวเองอย่างมืออาชีพ สามารถจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ตัดสินใจเด็ดขาด รวมถึงพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และนำมาพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวให้ทันโลกที่หมุนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดพัก
ผลงานของคนที่มี Talent ในองค์กร มักจะมีคุณภาพระดับห้าดาวเลยทีเดียว เพราะพวกเขาไม่ได้คิดเพียงแต่ทำงานให้เสร็จ ๆ ไปเท่านั้น แต่ต้องทำงานออกมาให้ “สมบูรณ์แบบ” ที่สุดเท่าที่จะทำได้ การทำงานที่เคร่งครัดแบบนี้จึงทำให้ผลงานของคนที่มี Talent ในองค์กรได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพไร้ที่ติ
นอกจากนี้ คนที่มี Talent ในองค์กรจะสามารถบริหารจัดการเวลาได้ดี สามารถทำงานเสร็จตามกำหนดเวลา จัดตารางเวลาชีวิตของตัวเองได้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ขาดตกบกพร่องตรงไหนไปอย่างแน่นอน
2. เก่งคน
คุณสมบัติข้อที่สองของคนที่มี Talent คือ เก่งคน ซึ่งหมายถึงความสามารถในการบริหารจัดการมนุษย์และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น รวมถึงสร้าง Trust ให้คนรอบข้างเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเองได้
ทักษะสำคัญที่พบได้ในตัวของคนที่มี Talent คือ “ทักษะการสื่อสารที่ดี” สามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และข้อมูลสำคัญให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา รู้จักเลือกใช้คำพูดและวิธีการให้เหมาะสมกับคู่สนทนาหรือสถานการณ์ ณ ขณะนั้น ทำให้การเจรจาเรื่องต่าง ๆ หรือการประสานงานระหว่างทีมเป็นไปอย่างราบรื่น ลดความขัดแย้งในองค์กร
นอกจากนี้ คนที่มี Talent ในองค์กร จะมี “ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น” พร้อมเปิดใจรับความหลากหลายและทำความเข้าใจความแตกต่างโดยปราศจากอคติ เมื่อสมาชิกภายในทีมมีปัญหาก็พร้อมซัปพอร์ตและหาทางช่วยเหลือในทันที ประกอบกับ “ภาวะผู้นำ” ที่ติดตัวพวกเขามา ทำให้หลาย ๆ ครั้งก็กลายเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายความคิด กระตุ้นให้สมาชิกภายในทีมหรือคนรอบ ๆ ตัวเกิดพลังในการทำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้คนที่มี Talent โดดเด่นมากขึ้น
3. พร้อมชน
คุณสมบัติข้อสุดท้ายของคนที่มี Talent คือ พร้อมชน ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเผชิญหน้ากับปัญหา อุปสรรค และความท้าทาย เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดให้สามารถผ่านพ้นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงและความล้มเหลว
ทักษะสำคัญของคนที่มี Talent คือ ทักษะการปรับตัว (Adaptability) เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็สามารถปรับเปลี่ยนแผนการทำงานได้ตามสถานการณ์นั้น ๆ เรียกได้ว่าเป็นคนที่มีความยืดหยุ่น ไม่กลัวที่จะก้าวออกจากเซฟโซน (Safe Zone) ของตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเองสูง พร้อมชนกับทุกความท้าทาย ไม่ยอมแพ้แม้ต้องเผชิญกับการทำงานที่ยากลำบาก

แชร์ Tricks รักษา Talent ในองค์กรไม่ให้โบกมือลา
1. ให้ความสำคัญกับเป้าหมายของ Talent
Tricks ข้อแรกของการรักษา Talent คือ การให้ความสำคัญกับเป้าหมายของ Talent เพราะพนักงานที่เป็น Talent มักจะมีเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของตัวเองอย่างชัดเจน ดังนั้น หากต้องการรักษา Talent ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ความต้องการของบุคคลนั้น ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมให้พวกเขารู้สึกได้รับความเอาใจใส่และมีคุณค่าต่อองค์กร พร้อมเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถของตัวเองให้ก้าวข้ามขีดจำกัดที่เป็นอยู่ ยกระดับทั้งศักยภาพของตัวเองและประสิทธิภาพขององค์กร
ตัวอย่างเช่น จัดการประชุมแบบ 1 on 1 เพื่อพูดคุยถึงเป้าหมาย ปัญหา และความรู้สึกในการทำงาน ณ ขณะนั้น หรือเลือกใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อประเมินความต้องการและวางแผนพัฒนาศักยภาพ
2. สร้างความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ
Tricks ข้อที่สองของการรักษา Talent คือ การสร้างความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้พนักงานที่เป็น Talent ในองค์กรรู้สึกได้รับแรงกระตุ้นในการทำงาน เมื่อพวกเขารู้สึกว่าได้รับการยอมรับและเป็นที่ต้องการขององค์กร รวมถึงมีโอกาสเติบโตก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ พวกเขาก็พร้อมทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานให้กับองค์กรอย่างสุดความสามารถ
นอกจากนี้ องค์กรควรเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการพัฒนาตัวเองให้กับพนักงานที่เป็น Talent โดยการสนับสนุนโอกาสใหม่ ๆ ที่ท้าทายเพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้หรือวางแผนพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เพื่อรับตำแหน่งที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ Talent มีความกระตือรือร้นในการทำงานและอยากทำงานร่วมกับองค์กรไปนาน ๆ
ตัวอย่างเช่น การมอบหมาย Project ที่ท้าทายความสามารถ หรือการจัด Workshop เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน
3. สร้างบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสม
Tricks ข้อสุดท้ายของการรักษา Talent คือ การสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสม เพราะหากบรรยากาศในการทำงานดี พนักงานที่เป็น Talent ในองค์กรก็อารมณ์ดี มีความสุข และมีแรงจูงใจในการทำงาน สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งบรรยากาศในการทำงานไม่ได้หมายถึงสภาพแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กรด้วย การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างตรงไปตรงมาก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันภายในทีมหรือการทำงานร่วมกันระหว่างทีม ก็สามารถผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่น ลดความขัดแย้งภายในองค์กร ส่งผลให้องค์กรน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น ออกแบบพื้นที่ทำงานให้ปลอดโปร่งเหมาะกับการทำงาน หรือจัดกิจกรรม Team Building เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความสนิทสนมภายในทีม
SEEN โปรแกรมพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน
การที่จะพิจารณาว่าพนักงานคนใดภายในองค์กรเป็น Talent โดยปราศจากความรู้สึกส่วนตัว 100% อาจจะทำได้ยากและไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัด แต่หากองค์กรใดต้องการผลลัพธ์ที่แม่นยำ BASE Playhouse ขอแนะนำให้รู้จักกับ “SEEN” ตัวช่วยสุดเจ๋งที่จะทำให้คุณรู้ว่า Talent ในองค์กรตัวจริงคือใคร! รวมถึงทดสอบเพื่อประเมินข้อมูลเชิงลึกได้ทุกมิติ ทั้ง Ability Fit ที่แสดงให้เห็นถึงทักษะที่ต้องพัฒนาเพิ่มสำหรับตำแหน่งนั้น ๆ และ Culture Fit ที่แสดงให้เห็นถึงบุคลิกของแคนดิเดตว่าสามารถเข้ากับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรได้มากน้อยแค่ไหน เพียงเท่านี้ การเฟ้นหา Talent ในองค์กรก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
อ้างอิงจาก
Talent Management บริหารคนเก่งในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ, disrupt
พนักงานที่เข้าข่ายเป็น Talent มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง, jobsbd