Design Thinking

ไขข้อสงสัย! ทำไมความคิดสร้างสรรค์คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำงานยุคนี้

ความคิดสร้างสรรค์คือ กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการคิดนอกกรอบและจินตนาการอย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งเป็นการมองโลกในแง่มุมที่แตกต่างออกไป เพื่อสร้างสรรค์แนวคิด นวัตกรรม หรือโซลูชันใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน

March 28, 2025
·
0
mins
Ketsara Numtummawong
เกสรา นำธรรมวงศ์
ไขข้อสงสัย! ทำไมความคิดสร้างสรรค์คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำงานยุคนี้

ไขข้อสงสัย! ทำไมความคิดสร้างสรรค์คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำงานยุคนี้

ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากอะไร?

ความคิดสร้างสรรค์คือ กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการคิดนอกกรอบและจินตนาการอย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งเป็นการมองโลกในแง่มุมที่แตกต่างออกไป เพื่อสร้างสรรค์แนวคิด นวัตกรรม หรือโซลูชันใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน

ซึ่งความคิดสร้างสรรค์หรือ Creative Thinking มาจากคำสองคำรวมกัน นั่นก็คือ “Creative” ที่หมายถึง ความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนใคร โดยเน้นการใช้จินตนาการอย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อนำเสนอผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไปในหลาย ๆ ด้าน เช่น การออกแบบกราฟิก การทำงานศิลปะ การสร้างธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ส่วน “Thinking” หมายถึง กระบวนการประมวลผลของสมองจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ เพื่อทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น 

ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญอย่างไร?

1. เพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน

คำตอบข้อแรกของความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญอย่างไร คือ เพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน เนื่องจากคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา พร้อมนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่คาดคิด รวมถึงเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้สมาชิกภายในทีมเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานอีกด้วย

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา

คำตอบข้อที่สองของความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญอย่างไร คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา เพราะเมื่อเจอปัญหาใหญ่ที่ยุ่งยากและซับซ้อนถาโถมเข้ามาในชีวิตอย่างไม่ทันตั้งตัว คนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของปัญหาออกอย่างง่ายดาย ก่อนจะค่อย ๆ ใช้ความคิดเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่ไม่จำกัดอยู่ในกรอบเดิม ๆ ซึ่งหลายครั้งก็เป็นมุมมองแปลก ๆ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่คนอื่นไม่คาดคิดมาก่อน แต่กลับได้ผลลัพธ์ดีเกินคาด

3. เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ

คำตอบข้อที่สามของความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญอย่างไร คือ เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ เพราะคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะมีมุมมองที่ “แตกต่าง” จากคนอื่น ทำให้สามารถจินตนาการและออกแบบสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้ “เป็นไปได้” อย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโซลูชันเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดในยุคเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วไม่มีสะดุด ส่งผลให้การทำธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง

3 นิสัย (เสีย) ต้นเหตุแห่งการทำลายความคิดสร้างสรรค์

1. เป็นคนมีเหตุผล (มากไป)

นิสัยเสียข้อแรกที่เป็นต้นเหตุทำลายความคิดสร้างสรรค์คือ เป็นคนมีเหตุผล (มากไป) หลาย ๆ คนอ่านแล้วก็คงคิดในใจอยู่ตอนนี้ว่า “อ้าว! แล้วเป็นคนมีเหตุผลไม่ดีตรงไหน?” BASE Playhouse ก็ต้องขอบอกว่าใจเย็นก่อน! การเป็นคนมีเหตุผลแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาวะที่สมองเต็มไปด้วยเหตุผล (Logic) และการใช้เหตุผล (Reasoning)

การใช้แต่เหตุผลเพียงอย่างเดียวเป็นประตูบานใหญ่ที่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะกับการออกแบบและพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถคิดคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ที่ตายตัว ดังนั้น หากอยากจะสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่และยอดเยี่ยม เราควรปล่อยวางเหตุผลลงสักครึ่งหนึ่ง แล้วปล่อยให้จินตนาการแห่งความช่างฝันออกมาโลดแล่นในชีวิตจริงบ้าง

2. ยึดมั่นในคำตอบเดียว

นิสัยเสียข้อที่สองที่เป็นต้นเหตุทำลายความคิดสร้างสรรค์คือ ยึดมั่นในคำตอบเดียว โดยขาดความยืดหยุ่น (Flexibility) และไม่เปิดใจรับฟังความหลากหลาย จะทำให้เราไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้เลย เพราะในความเป็นจริงแล้ว การทำงานอย่างหนักเพื่อมุ่งสู่ “เป้าหมาย” ที่ตั้งเอาไว้ไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว สามารถเลือกทางเดินได้หลากหลายโดยไม่มีถูกไม่มีผิด ทุก ๆ อย่างขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและความเหมาะสมตามแต่ละสถานการณ์

หลาย ๆ ครั้งที่เรายึดมั่นในคำตอบเดิม ๆ ทางเลือกเดิม ๆ เพราะสมองของเรามักเลือกคำตอบที่มีความคุ้นชินและเป็นเซฟโซน (Safe Zone) ก่อนเสมอ แต่จริง ๆ แล้ว ทางเดินที่ใกล้และเร็วที่สุดอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ในขณะเดียวกัน ทางเดินที่ไกลที่สุดอาจจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายและท้อแท้ แต่กลับเป็นประสบการณ์ให้ได้เรียนรู้และซึมซับบรรยากาศระหว่างการเดินทางเพื่อนำไปพัฒนาตัวเองต่อก็เป็นได้

3. คิดว่า “ตัวเอง” ไม่สร้างสรรค์

นิสัยเสียข้อสุดท้ายที่เป็นต้นเหตุทำลายความคิดสร้างสรรค์คือ คิดว่าตัวเองไม่สร้างสรรค์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ขาดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งข้อนี้มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลาย ๆ คนที่ทำงานในสายงาน Creative หรือสายงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลาแบบ (แทบ) ไม่ได้พัก เกิดอาการหมดไฟ (Burnout) กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ จนกลายเป็นการบั่นทอนความรู้สึกกระตือรือร้นในการจินตนาการ

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนมีศักยภาพในการคิดอย่างสร้างสรรค์ซ่อนอยู่ในตัว! แต่ “ความกลัว” ทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจในความคิดของตัวเอง ไม่ว่าจะกลัวความคิดไม่ดีพอ กลัวผลตอบรับไม่ดี กลัวการถูกวิจารณ์ ไปจนถึงความกลัวเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากความคิดเห็นของคนอื่น จนเกิดความเครียดและความกดดันจนไม่สามารถสร้างสรรค์ความคิดแปลกใหม่ได้และเชื่อว่าตัวเองเป็นคนไม่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างสนิทใจ

เติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ให้กับ Design Thinking ด้วย 3 วิธีง่าย ๆ

ความคิดสร้างสรรค์คือ จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่จะทำให้การทำงานตามหลักการ Design Thinking ประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี หลังจากเราได้ทำความเข้าใจว่าความคิดสร้างสรรค์เกิดจากอะไรและความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญอย่างไรกันไปแล้ว ในหัวข้อนี้ BASE Playhouse จะพาทุกคนไปเปิดมุมมองใหม่ ๆ ฝึกฝนกระบวนการคิดของสมอง เพื่อเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ให้กับตัวเอง ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันได้เลย

1. เปิดมุมมองใหม่ ๆ ด้วยการอ่านหนังสือ

วิธีแรกสำหรับการเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์คือ การเปิดมุมมองใหม่ ๆ ด้วยการอ่านหนังสือ ถึงแม้จะมีคนบอกว่าคนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัดต่อปี แต่จริง ๆ แล้ว การอ่านหนังสือจากหลากหลายแขนงตามความสนใจของเรา เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นวิธีหนึ่ง ทำให้ได้เรียนรู้มุมมองที่แตกต่างออกไปตามสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ความอยากรู้อยากเห็น และการคิดนอกกรอบ เสริมสร้างจินตนาการ เพิ่มพูนทักษะ รวมถึงเป็นการผ่อนคลาย ช่วยลดความเครียดได้ด้วยนะ

2. ฝึกตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว

วิธีที่สองสำหรับการเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์คือ การฝึกตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องรับบทเป็น “เจ้าหนูจำไม” จากเรื่องอิคคิวซัง เพราะการตั้งคำถามจากสิ่งรอบตัวที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งคำถามสามารถเป็นคำถามอะไรก็ได้ที่ตัวเราสงสัย เช่น ทำแบบนี้ไปทำไม? มีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ? ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร? เป็นต้น

3. ทำงานกับคนที่มีความคิดหลากหลาย

วิธีที่สามสำหรับการเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์คือ การทำงานกับคนที่มีความคิดหลากหลาย อย่างที่เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเราทำงานกับคนเก่ง แม้จะทำให้รู้สึกยากลำบากและท้อแท้ใจ แต่หากเราผ่านไปได้ เราจะเก่งขึ้นอย่างแน่นอน เพราะการทำงานกับคนเก่งที่มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา จะเป็นแรงผลักดันให้เรามีกำลังใจในการทำงาน กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้ออกมาโลดแล่น ไม่ติดอยู่ในกรอบเดิม ๆ รวมถึงได้เสริมสร้างทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นทีม

Creative Thinking หรือความคิดสร้างสรรค์คือ สิ่งที่สามารถพัฒนาได้โดยไม่ยากเกินความสามารถของมนุษย์ เพราะ “สมอง” ของมนุษย์สามารถฝึกฝนกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งหัวใจสำคัญของการฝึกฝน คือ “การตั้งเป้าหมาย” และนำสิ่งนั้นมาเป็นแรงกระตุ้นให้กระบวนการคิดของเราได้ทำงานจนเกิดจินตนาการแปลกใหม่อย่างไม่สิ้นสุด

อ้างอิงจาก

CREATIVE PROCESS : 7 นิสัยทำลายความคิดสร้างสรรค์, THE POTENTIAL

ความคิดสร้างสรรค์สำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร?, Cariber

หลักสูตรแนะนำ

Design Thinking for Creating Innovation

ในยุคที่เทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ การนำทักษะการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ และใช้ในการแก้ไขปัญหาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างให้องค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างคล่องตัว ผ่านการคิด และออกแบบนวัตกรรมใหม่ ๆ

คอร์สนี้เหมาะกับ

'Design Thinking for Creating Innovation' เหมาะสำหรับบุคลากรในระดับผู้จัดการ และผู้บริหารที่ต้องการพัฒนาทักษะความคิดเชิงออกแบบอย่างสร้างสรรค์

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

  • ได้รับมุมมองที่หลากหลาย - เริ่มจากความเข้าใจกระบวนการคิด ทำให้เกิดขึ้นได้จริง ประยุกต์ใช้เป็น เเละนำไปใช้กับทีมทำงานได้ เข้าใจลักษณะของแต่ละขั้นตอนที่แตกต่างกัน ที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทขององค์กรหรือของการทำงานที่แตกต่างกันได้
  • ได้รับทักษะขั้นสูงของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ - เพื่อทำให้ผู้เรียนมีทางเลือกในการหยิบทักษะแต่ละตัวไปใช้ และทำให้ผู้เรียนสามารถออกแบบวิธีการแก้ปัญหาได้ เมื่อเจอเคสในการสร้างนวัตกรรมจริงในองค์กร ที่ละเอียดและซับซ้อน พร้อมทั้งสามารถนำทักษะขั้นสูงไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มองภาพรวมที่ใหญ่กว่า - วิธีการการแก้ปัญหาที่ดี นอกจากจะต้องตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับมนุษย์ได้ ยังต้องสามารถต่อยอดเพื่อทำให้มันสามารถสร้างได้จริง และสามารถยั่งยืน (Sustain) ในมุมของธุรกิจได้ เพื่อทำให้ไอเดียหรือกระบวนการคิดที่ได้จากกระบวนการนี้ สามารถต่อยอดไปเป็นนวัตกรรมจริงในองค์กร

รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม > อ่านที่นี่

ติดต่อปรึกษา BASE Playhouse ฟรี! โทร 094-191-4626 หรือกรอกข้อมูลเพื่อติดต่อกลับ ที่นี่