Leadership

Micro Management คืออะไร? สร้างผลเสียกับองค์กรมากน้อยแค่ไหน?

Micro Management คือ หนึ่งปัจจัยหลักที่สร้างผลเสียให้กับองค์กรอย่างรอบด้าน แล้ว Micro Management คืออะไร? ทำไมการดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิดถึงส่งผลเสียได้?

November 4, 2024
·
0
mins
Maytwin Pitipornvivat (Mum+)
เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์
Micro Management คืออะไร? สร้างผลเสียกับองค์กรมากน้อยแค่ไหน?

Micro Management คืออะไร ทำไมการดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิดถึงส่งผลเสียกับองค์กร?

Micro Managemet คือ อีกหนึ่งประเด็นร้อนแห่งโลกการทำงานที่ใครหลายคนเชื่อว่า เป็นสาเหตุไปสู่ผลเสียมากมายขององค์กร เริ่มตั้งแต่บรรยากาศการทำงานที่น่าอึดอัด การทำงานที่ติดกรอบมากเกินจนทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการทยอยลาออกของพนักงานที่เก่งและมีคุณภาพที่

แล้ว Micro Managemet คืออะไร? ทำไมการดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิดถึงสร้างผลเสียให้กับองค์กรได้มากกว่าที่หลาย ๆ คนคิด ในบทความนี้ BASE Playhouse จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

Micro Management คืออะไร?

Micro Management หรือ Micromanage คือ รูปแบบการบริหารจัดการที่ผู้บริหาร หัวหน้า หรือ ผู้มีอำนาจในหน่วยงาน มีการควบคุมและตรวจสอบรายละเอียดการทำงานของพนักงานอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน ตั้งแต่การมอบหมายงาน การลงมือทำ ไปจนถึงการตรวจสอบผลลัพธ์ให้เป็นได้ตามความคาดหวัง

การบริหารงานแบบ Micro Management คือ การจำกัดโอกาสของพนักงานทางอ้อม โดยเฉพาะพนักงานที่ประสบการณ์น้อยหรือมีอายุน้อยกว่า ส่งผลให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความไว้วางใจ หรือ จำเป็นต้องทำตามคำสั่งของใครคนใดคนหนึ่งอย่างเดียว และไม่สามารถได้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในระยะยาวย่อมทำให้เกิดความเครียดสะสม จนส่งผลกับประสิทธิภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Micro Management คือ อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานที่มีความสามารถขององค์กรหลายๆ คนตัดสินใจลาออก ซึ่งนอกจากจะส่งผลกับ Turnover Rate หรือ อัตราการลาออกของพนักงานแล้ว แน่นอนว่า องค์กรที่ขาดพนักงานที่มีความสามารถไปยังมีความเสี่ยงที่จะไปไม่ถึงเป้าหมายในเวลาที่ต้องการเช่นกัน

Micro Management กับ Macro Management ต่างกันอย่างไร?

ความแตกต่างระหว่าง Micro Management กับ Macro Management คือ การให้อิสระพนักงานในการตัดสินใจและลงมือทำงาน 

โดย Macro Management คือ การบริหารที่จะเน้นภาพรวม ผลลัพธ์ และเป้าหมายใหญ่ โดยให้อิสระกับพนักงานในการทำงานในวิถีของตนเอง และได้รับผิดชอบกับงานนั้นๆ อย่างเต็มที่ การบริหารแบบ Macro mamagement จึงทำให้พนักงงานรู้มี Ownership ต่องานตัวเองมากขึ้น และยังเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงานออกมาอย่างมีคุณภาพและมีความรับผิดชอบอีกด้วย 

ในทางตรงกันข้าม Micro Management จะเน้นไปที่การควบคุมรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละขั้นตอน ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการเข้ามาแทรกแซงในกระบวนการทำงานที่เกิดความรับผิดชอบของตัวเอง จนส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพงานที่ออกมา และอาจนำไปสู่การเกิด conflict ด้วย

ลักษณะของ Micro Management คืออะไร?

เมื่อพูดถึง Micro Management เชื่อว่าหลายๆ คนมักนึกถึงบรรยากาศในออฟฟิศที่จะมีเพื่อนร่วมงาน หรือ หัวหน้าที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ หรือ เป็นพนักงานกลุ่มที่ใครๆ เรียกว่า “Perfectionist”

แต่ในความเป็นจริงแล้ว Micro Management ในที่ทำงานไม่ได้มาในรูปแบบของพนักงานที่ต้องทำงานไร้ที่ติ แต่จะเป็นความรู้สึกของ “การถูกควบคุม” มากกว่า โดยมักออกมาใน 5 รูปแบบนี้

  1. รู้สึกถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด 

เช่น ผู้บริหาร หรือ หัวหน้า มักเข้ามาตรวจสอบรายละเอียดของงานอย่างใกล้ชิด มีการตั้งคำถามเชิงจับผิดโดยไม่จำเป็น และไม่ปล่อยให้พนักงานได้ทำงานในแบบที่ตัวเองถนัด 

  1. จำเป็นต้องรอการตัดสินใจตลอด

เช่น ผู้บริหาร หรือ หัวหน้า มักจะเข้ามาตัดสินใจแทนพนักงานในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่มีเสียง ไม่ได้รับการยอมรับความคิดเห็น หรือ รู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีบทบาทในทีม

  1. รู้สึกไม่ได้รับความไว้ใจ

พนักงานรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความไว้วางใจให้ทำงาน ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเครียด ไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง หรืออาจถึงขั้นคิดว่าตนเองไม่สามารถเรียนรู้งานเพื่อพัฒนาความสามารถก็เป็นได้

  1. ขาดความคิดสร้างสรรค์

บรรยากาศในการทำงานที่พนักงานรู้สึกถูกควบคุมมากเกินไป จะทำให้พนักงานไม่กล้าเสนอความคิดเห็น หรือ ไอเดียใหม่ๆ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นไอเดียที่ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จก็เป็นได้

  1. บรรยากาศในที่ทำงานตึงเครียด และเกิดความขัดแย้งได้ง่าย

เช่น เริ่มเห็นพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้า หรือ ผู้บริหาร เนื่องจากรู้สึกว่าถูกควบคุมมากเกินไป หรือ พนักงานเริ่มมีแนวคิดที่แตกต่างกัน หรือ อยู่ในบรรยากาศที่ถูกควบคุมทุกฝีก้าว จนนำไปสู่ความกดดันและความขัดแย้งของพนักงานในรูปแบบต่างๆ 

Micro Management ส่งผลกระทบกับองค์กรอย่างไร?

รู้หรือไม่? แม้แต่องค์กรระดับโลกก็เคยปรับใช้ Micro Management จนส่งผลเสียต่อธุรกิจในวงกว้างมาแล้ว

Yahoo! กับการบริหารที่ยิบย่อยจนเกินไป

หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อย่าง Yahoo! เองก็เคยประสบปัญหาเกี่ยวกับ Micro Management ในช่วงที่ Marissa Mayer ดำรงตำแหน่ง CEO เช่นกัน

โดย Marissa Mayer ขึ้นชื่อว่ามีแนวทางการบริหารงานที่เข้มงวด ส่งผลให้พนักงานรู้สึกถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอนการทำงาน จนส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานส่วนมาก

ท้ายที่สุด Yahoo! ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารใหม่ เพื่อฟื้นฟูบรรยากาศการทำงานที่ดีต่อพนักงาน วิสัยทัศน์องค์กร รวมถึงการดำเนินงานด้านอื่นๆ ในบริษัททั้งหมด แน่นอนว่า แม้ Micro Management จะมาจากเจตนาที่จะช่วยควบคุมคุณภาพงานให้ออกมามีประสิทธิภาพ แต่หลายๆ ครั้งก็อาจส่งผลเสียในวงกว้างมากกว่าคุณภาพงานที่ออกมา

หรือจริงๆ แล้วองค์กรควรปรับใช้ Micro Management ให้เหมาะสม?

Micro Management คือ วิธีการบริหารงานที่มักถูกใช้ในช่วงแรกที่มีการจ้างพนักงานใหม่ หรือในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบในทีม โดยหลายคนเชื่อว่า การตรวจสอบและควบคุมที่เข้มข้นจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานการทำงานที่ดี และทำให้พนักงานทำงานได้ตรงตามความคาดหมาย

แต่ในความเป็นจริงแล้ว Micro Management สามารถสร้างผลกระทบได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ผลกระทบในระยะสั้นจาก Micro Management

ในระยะสั้น การควบคุมพนักงานในทุกขั้นตอนการทำงาน อาจทำให้เกิดความเครียด ความไม่พอใจ หรือ รู้สึกไม่มั่นใจในความสามารถ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้า ผู้บริหาร หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานด้วยกันเอง

แม้จะเป็นความรู้สึกในระยะสั้น หากไม่รีบแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ความรู้สึกนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของพนักงาน เกิดอาการ Burnout หรือ จนทำให้ตัดสินใจลาออกได้เช่นกัน

ผลกระทบในระยะยาวจาก Micro Management

ในระยะยาว ผลกระทบจาก Micro Management อาจยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จนนำไปสู่การสูญเสียครั้งใหญ่ในองค์กร 

เริ่มตั้งแต่การสูญเสียความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในองค์กร ไปจนถึงการที่พนักงานรู้สึกไม่มีแรงจูงใจในการเสนอความคิดเห็นหรือแนวคิดใหม่ๆ เนื่องจากกลัวว่าจะถูกปฏิเสธหรือถูกควบคุม ส่งผลให้องค์กรอาจต้องเผชิญกับปัญหาการลาออกของพนักงานที่มีความสามารถสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในตลาด และความสำเร็จได้

องค์กรของเรามี Micro Management หรือไม่? สังเกตได้อย่างไร?

หนึ่งในวิธีที่สามารถสังเกตได้ว่าองค์กรของคุณกำลังเผชิญกับปัญหา Micro Management คือ การสังเกตบรรยากาศโดยรวมในที่ทำงาน แนะนำให้สังเกตโดยที่ไม่ต้องเล่าให้ใครฟัง แต่ให้ลองมองสถานการณ์ บรรยากาศ และความสัมพันธ์ของทุกคนในออฟฟิศดู

หากพบว่าพนักงานดูเครียด ไม่กล้าเสนอความคิดเห็น ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่พูดตรงไปตรงมา หรือ มีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความไว้วางใจ นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า องค์กรของคุณอาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นแล้ว

แต่หากไม่สังเกตเห็นถึงความเครียดระหว่างพนักงาน แนะนำให้ลองสังเกตถึงคุณภาพของงานที่ออกมา โดยหากผลงานโดยรวมของทีมลดลง มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นซ้ำซาก หรือ แก้ปัญหาการทำงานไม่ตรงจุดสักที ไม่แน่ว่าอาจเป็นผลมาจากแรงกดดันและความเครียดจาก Micro Management ที่ซ่อนตัวอยู่สักที่ก็เป็นได้

องค์กรยังสามารถทำแบบสอบถาม หรือ เชิญพนักงานมาพูดคุยในบรรยากาศสบายๆ เพื่อให้ทราบถึงการบริหารจัดการทีม แน่นอนว่า HR ขององค์กรเองก็ต้องสังเกตถึงเค้าลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้ได้ เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่มักมีแนวโน้มที่จะไม่พูด หรือ แสดงความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมา

รับมือกับ Micro Management เบื้องต้นอย่างไรดี?

หากองค์กรของคุณเริ่มมีลางของ Micro Management ที่ซ่อนตัวอยู่ที่ไหนสักที่ในองค์กร ลองมาปรับทิศทางการบริหารงานเบื้องต้นด้วย 3 เทคนิคง่ายๆ ดังนี้

1. กำหนดแนวทางตั้งเป้าหมายให้กับงานที่ชัดเจน

Micro Management บางครั้งอาจมาในรูปแบบของ “การลืมบอก” ทำให้พนักงานต้องปรับแก้ไขงานอยู่เรื่อยๆ ไม่จบสิ้น ดังนั้น องค์กรจึงควรสร้างแนวทางการบรีฟงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เช่น มีการกำหนดเป้าหมาย ความคาดหวัง เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ และระยะเวลาในการทำงานที่ชัดเจน แต่เว้นช่องว่างด้านวิธีการ ไอเดีย หรือ แนวคิดเอาไว้ ให้พนักงานได้มีอิสระในการทำงานมากขึ้น

2. มีพื้นที่ให้กับความผิดพลาด

ส่วนใหญ่แล้ว Micro Management คือ วิธีการบริหารงานที่เกิดขึ้นจากความกลัวการผิดพลาดของผู้นำ จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมหัวหน้าที่บริหารงานแบบ Micro Management จึงมักเข้ามาควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการ

แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ แน่นอนว่าย่อมมีข้อผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ดังนั้น องค์กรจึงควรมีพื้นที่สำหรับความผิดพลาดที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานสามารถทำงานได้โดยปราศจากความกดดัน ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนา และรู้จักหลีกเลี่ยงปัญหาในอนาคตได้อีกด้วย

โดยการฝึกสร้างพื้นที่ยอมรับความผิดพลาดนี้ สามารถทำได้จากการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ อาจปรึกษาพูดคุยกันว่า ความผิดพลาดแบบไหนสามารถจัดการอย่างไรให้เหมาะสมบ้าง

3. ยอมรับการตัดสินใจของผู้อื่น

เมื่อมอบหมายงานแล้ว ผู้นำเองก็ควรยอมรับการตัดสินใจของพนักงานด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิธีการที่เหมาะสม การกำหนดรายละเอียดอื่นๆ ที่ตรงกับเงื่อนไขของการทำงาน

แน่นอนว่าบางครั้งอาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่หากอยู่ในระดับที่พัฒนาได้และไม่มีข้อผิดพลาด พนักงานก็ยังสามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ได้ แถมยังช่วยให้พนักงานรู้สึกได้รับความไว้วางใจ และเปิดใจรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้นำได้อีกด้วย

เราสามารถสรุปได้ว่า Micro Management คือ วิธีการบริหารงานที่สร้างผลเสียได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งไม่เพียงแต่องค์กรเล็กๆ เท่านั้น แต่องค์กรใหญ่ระดับโลกเองก็ได้รับผลกระทบจากการบริหารงานด้วยวิธีนี้เช่นกัน 

หวังว่าบทความที่ BASE Playhouse นำมาฝากนี้ จะช่วยให้เห็นภาพว่า Micro Management คืออะไร ตลอดจนช่วยให้องค์กรของคุณสามารถรับมือกับ Micro Management ที่แฝงตัวอยู่ในองค์กรได้อย่างเหมาะสม

อ้างอิงจาก